Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•03:33
-เนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเพณีไทย
-วัตถุประสงค์ ของงาน
การท่องเที่ยว ส่วนในประเทศได้เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และศักยภาพในทุกด้านของทุกจังหวัด เพื่อส่งเสริม และรองรับคนไทยให้เที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยเน้นทั้ง ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วัฒนธรรม ประเพณีของทุกจังหวัด และทัวร์สิ่งแวดล้อม หรืออีโคทัวริสซึ่ม

-เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (4)
-ความน่าสนใจ (4)
-ความทันสมัย (4)
-การออกแบบ/ความสวยงาม (4)
การออกแบบงานสารนี้นอกจากด้านเนื้อหาแล้ว ยังรวมไปถึงองค์ประกอบต่างในการนำเสนอด้วย เช่น สีของตัวอักษร, ภาพ
-ความเรียบง่าย (4)
เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อครบถ้วนและถูกต้อง สรุปคะแนน 20 คะเเนน
Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•00:10











มูลเหตุที่ทำ

เพื่อให้ภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เนื่องจากของเก่าใช้นุ่งห่มมาตลอดระยะเวลาสามเดือนที่เข้าพรรษา ย่อมเก่า มีเรื่องเล่าว่าภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูปพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเชตวันมหาวิหาร ไปไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงพักจำพรรษา ที่เมืองสาเกตุพอออกพรรษาแล้วพากันเดินกรำฝน จีวรเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน พอไปถึงแล้วก็เข้าเผ้าพระองค์ทรงเห็นความลำบากของภิกษุเหล่านั้นจึงอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้ นางวิสาขาทราบความประสงค์จึงนำผ้ากฐินมาถวายเป็นคนแรก จึงถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
ชนิดของกฐินที่ทำมี 2 ประเภท
1. กฐินเล็กหรือภาคกลางเรียกว่า "จุลกฐิน" ซึ่งเป็น "กฐินเล็ก" เป็นกฐินที่ต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว เริ่มตั้งแต่ปั่นด้าย ทอเป็นผืน ตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวรพร้อมทั้งย้อมสี ซึ่งกฐินประเภทนี้ต้องให้ความร่วมมือร่วมแรงของผู้คนเป็นจำนวนมากจึงจะเสร็จทันเวลา จังหวัดอุบลราชธานีทำจุลกฐินที่วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
2. มหากฐิน เป็นกฐินที่มีบริวารมาก ใช้เวลาเตรียมการนานมีคนนิยมทำกันมากเพราะถือว่าได้บุญได้กุศลมากขนาดผ้ากฐิน มีกำหนดขนาดผ้าที่ใช้ทำเป็นผ้ากฐิน ดังนี้ ผ้าสบง ยาว 6 ศอก กว้าง 2 ศอก ผ้าจีวรและสังฆาฏิ มีขนาดเท่ากัน คือ ยาว 6 ศอก กว้าง 4 ศอก ผ้ากฐินทั้ง 3 ผืนนี้เรียกว่า"ไตรจีวร"
องค์ประกอบสำคัญของกฐินประกอบด้วย "อัฐบริขาร" สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็มเย็บผ้า ประคตเอว (ผ้ารัดเอว) กระบอกกรองน้ำองค์ประกอบทั้ง 8 อย่างนี้จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เพราะถือว่าเป็น "หัวใจ"ของกฐินหรือเป็น "บริขารกฐิน" จะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น ผ้าปูนั่ง ผ้าอาบน้ำ ผ้าห่มกันหนาว เสื่อ หมอน ถ้วย จาน แป็นต้นพระสงฆ์ที่จะรับกฐินได้ต้องเป็นผู้จำพรรษาครบ 3 เดือน และมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5 รูป ถ้าไม่ถึง 5 รูปถือว่าใช้ไม่ได้ แม้จะนิมนต์ไปจากวัดอื่นให้ไปร่วมประชุมสงฆ์เพื่อรับกฐินก็ไม่สามารถรับกฐินได้

พิธีกรรม
ผู้มีศรัทธาประสงค์จะทำบุญกฐินต้องไปติดต่อของจองวัดที่จะนำกฐินไปทอด เมื่อเจ้าอาวาสแจ้งว่าวัดนั้นยังไม่มีผู้ใดมาจองกฐินผู้มีศรัทธาที่จะทำบุญกฐิน จะเขียนสลาก (ใบจอง) บอกชื่อต้น ชื่อสกุล ตำแหน่งที่อยู่ของตนให้ชัดเจน เพื่อประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้จอง และจะนำกฐินมาทอดที่วัดดังกล่าว สลากต้องปิดไว้ในที่เปิดเผย เช่น ศาลาโรงธรรม โบสถ์ และต้องบอกวัน เวลาที่จะทอดด้วย เพื่อไม่ให้ผู้อื่นไปจองซ้ำ เพราะปีหนึ่ง แต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงกองเดียว เมื่อจองแล้วก็จัดหาเครื่องบริขารและบริวารกฐินไว้บอกญาติ และพี่น้องให้มาร่วมกันทำบุญ งานบุญกฐินถือว่าเป็นงานบุญอันยิ่งใหญ่ที่ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าผู้ใดทำบุญกฐินแล้วตายไปก็จะไม่ตกนรกมีแต่จะได้รับผลบุญที่ตนเองกระทำสะสมไว้ในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า
เมื่อถึงวันรวมก็จะตั้งองค์กฐินที่บ้านของตน โดยซื้อเครื่องอัฐบริขารและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งเครื่องบริวารกฐินส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวาางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้านใกล้เคียงนำสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ผ้าห่ม ถ้วย จาน ฯลฯ มาร่วมสมทบกองกฐิน เมื่อถึงวันงานก็นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ฟังเทศน์ ตอนกลางคืนอาจจัดให้มีงานมหรสพต่างๆ เช่น หมอลำ ภาพยนต์หรืออาจจัดเป็นงานเลี้ยงฉลองบุญกฐินก็แล้วแต่เจ้าภาพ
พอตอนรุ่งเช้าก็แห่กฐินจากบ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัดเมื่อเดินทางไปถึงวัด จึงเริ่มแห่เครื่องกฐินทั้งหมดรอบศาลาโรงธรรมโดยแห่เวียนขวา 3 รอบ แล้วจึงนำกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงธรรม จากนั้นก็จะนำข้าวปลา อาหารเลี้ยงพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าภาพองค์กฐินจะนุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยรับศีล แล้วกล่าวคำถวายกฐิน เป็นการเสร็จพิธีของฝ่ายญาติโยม ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัด ก็จะประชุมสงฆ์ทั้งวัดแล้วให้ภิกษุรูปหนึ่งถามที่ประชุมสงฆ์ว่า ผ้ากฐินและเครื่องบริวารจะมอบพระสงฆ์รูปใด จะมีภิกษุรูปหนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่ ควรให้แก่ภิกษุรูปใด โดยเอ่ยนามภิกษุที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็จะเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคำว่า "สาธุ" พร้อมกัน จากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่นๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนา และให้พรเป็นการเสร็จพิธี

มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยดึกดำบรรพ์ ครั้งพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง ไปอาศัยสิริธรรมเศรษฐีผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ นับได้ 80 โกฏิ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้ อาศัยอยู่กินหลับนอนในบ้านท่านเศรษฐี ๆ ถามว่า "เธอมีความรู้อะไรบ้าง?" เขาตอบอย่างอ่อนน้อมว่า "กระผมไม่มีความรู้เลยขอรับ" ท่านเศรษฐีจึงถามว่า "ถ้าอย่างนั้นเธอจะรักษาไร่หญ้าให้เราได้ไหม? เราจะให้อาหารวันละหม้อ" เพราะความที่เขายากจน บุรุษนั้นจึงตอบตกลงทันที แล้วเข้าประจำหน้าที่ของตนต่อไป และมีชื่อว่า ติณบาล เพราะรักษาหญ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป
วันหนึ่งเป็นวันว่างงาน เขาจึงคิดว่า "ตัวเรานี้เป็นคนยากจนเช่นนี้เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติก่อนเลย มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่นไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย" เมื่อคิดดังนี้แล้วเขาได้แบ่งอาหารที่ท่านเศรษฐีให้ ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ผู้เที่ยวบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเองรับประทาน ด้วยเดชกุศลผลบุญอันนั้น ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดสงสารเขา แล้วให้อาหารเพิ่มอีกเป็น 2 ส่วน เขาได้แบ่งอาหารเป็น 3 ส่วน ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคสำหรับตนเอง เขาทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาช้านาน
ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีผู้เป็นนายของเขาก็เตรียมจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกันว่า สิริธรรมเศรษฐีจะได้ทำบุญกฐินเมื่อติณบาลได้ยินก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันทีว่า กฐินทานนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ แล้วเข้าไปหาท่านเศรษฐีถามว่า "กฐินทานมีอานิสงฆ์อย่างไรบ้าง?" เศรษฐีตอบว่า "มีอานิสงฆ์มากมายหนักหนาสมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสโถมนาการ สรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ" เมื่อเขาได้ทราบดังนี้แล้ว ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก จึงพูดกับเศรษฐีว่า "ผมมีความประสงค์ที่จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วย ท่านจะเริ่มงานเมื่อไรขอรับ?" ท่านเศรษฐีตอบว่า "เราจะเริ่มงานเมื่องครบ 7 วัน นับจากวันนี้ไป"
ติณบาลได้ฟังดังนั้นก็ดีใจยิ่งนัก ได้กลับไปยังที่อยู่ของตน แล้วเกิคความคิดว่า เราไม่มีอะไรเลย แม้ผ้าผืนเดียว เราจะทำบุญร่วมกับท่านเศรษฐีได้อย่างไร เขาครุ่นคิดอยู่เป็นเวลานาน ยิ่งคิดไปก็ยิ่งอัดอั้นตันปัญญา หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากฐินกับท่านเศรษฐีไม่ได้ ในที่สุดเขาได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกพับให้ดี แล้วเย็บใบไม้นุ่งแทน แล้วเอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการเช่นนั้น ก็พากันหัวเราะกันออกลั่นไปเขาชูมือขึ้นแถลงว่า "ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์"
ครั้นพูดชี้แจงแก่ประชาชนชาวตลาดดังนี้แล้ว เขาได้ออกเดินเร่ขายเรื่อยไป ในที่สุด เขาได้ขายผ้านั้นในราคา 5 มาสก (1 บาท) แล้วนำไปมอบให้ท่านเศรษฐีๆ ได้ใช้ซื้อด้ายสำหรับเย็บไตรจีวร ในกาลครั้งนั้นได้เกิดโกลาหลทั่วไปในหมู่ชน ตลอดถึงเทวดาในฉกามาพจรสวรรค์
ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีทรงทราบเหตุผล จึงรับสั่งให้นำติณบาลเข้าเฝ้า แต่เขาไม่ยอมเข้าเฝ้าเพราะละอาย จึงได้ตรัสถามความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้ว ทรงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขา นอกจากนั้นได้พระราชทานบ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ ช้าง ม้า วัว ควาย ทาสี ทาสา เป็นอันมากแล้วโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า ติณบาลเศรษฐี จำเดิมแต่บัดนั้นเป็นไป
ครั้งต่อกาลนานมา ติณบาลเศรษฐีเมื่อดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้ว ก็ตายไปเกิดเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์พิภพ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้ว สูงได้ 5 โยชน์ มีนางเทพอัปสรหมื่นหนึ่งเป็นบริวาร ส่วนสิริธรรมเศรษฐี ครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกันกับติณบาลเศรษฐี



Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•23:48





บุญข้าวประดับดิน คือ บุญที่ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า(ประมาณเดือนสิงหาคม) เป็นการนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เป็นการทำบุญที่ชาวบ้าน จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ความเป็นมา
มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์เมื่อตายแล้วไป เกิดในนรก ครั้นพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเข้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีกแล้วอุทิศส่วนกุศลปไให้ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วน กุศลการทำบุญข้าวประดับดิน ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณี ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี
มูลเหตุที่ทำ
เนื่องจากคนลาวและไทยอีสาน มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลแล้วว่า กลางคืนของเดือนเก้าดับ(วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9)เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว
พิธีกรรม
ในตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ญาติโยมเตรียมจัดอาหารคาวหวาน และหมากพลู บุหรี่ไว้กะให้ได้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อ ขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง
อาหารคาวหวาน ที่ใส่ห่อนั้นจะจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย อาทิ
1. ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
2. เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)
4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
หลังจากนั้นนำใบตองมาห่อเข้ากันแล้วใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อย ที่มีลักษณะยาวๆ หมาก พลู หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ สีเสียด แก่นคูน นำมาห่อใบตองเข้าด้วยกันแล้วไม้กลัดหัวท้าย ก็จะได้ห่อหมาก พลู หลังจากนั้นนำทั้ง 2 ห่อมาผูกกันเป็นคู่ แล้วนำไปมัดรวมเป็นพวง 1 พวง จะใส่ ห่อหมากและห่อพลูจำนวน 9 ห่อ ต่อ 1 พวง
การวางห่อข้าวน้อย หมายถึง การนำห่อข้าวน้อยไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่างๆ พอถึงเวลาประมาณ 03.00 - 04.00 น.ของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะนำเอาห่อข้าวน้อยที่จัดเตรียมได้แล้วไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด วางไว้ตามดินริมกำแพงวัด วางไว้ริมโบสก์ ริมเจดีย์ในวัด การนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามที่ต่างๆ ในวัดเรียกว่า การยาย(วางเป็นระยะๆ)ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด
หลังจากการยาย (วาง) ห่อข้าวน้อยเสร็จ ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารใส่บาตรในตอนเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 หลังจากนี้น พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเรื่องอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดับดินให้ฟัง ต่อจากนั้นชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกๆ คน


Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•23:31
แม้จะเรียกขานชื่อวันแตกต่างกันไป แต่ไฮไลท์หลักของบุญวันนี้ ก็คือความเชื่อที่ว่า วันนี้เป็นวัน"ปล่อยผี" เป็นจังหวะดีที่เหล่าสัมภเวสีผีไร้ญาติขาดมิตร หรือผีที่คิดจะยื่นขอลี้ภัยหนีไปตายต่างประเทศ จะได้สิทธิพิเศษ ได้กินของแจกทานในวันนี้
ตามตำนานของคนอีสานเล่าถึงมูลเหตูที่มีการทำบุญข้าวสาก มีเรื่องเล่าไว้ในธรรมบทว่า
... มีบุตรชายกฎุมพี(คนมั่งมี)ผู้หนึ่ง เมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้วแม่ได้หาหญิงผู้มีอายุและตระกูลเสมอกันมาเป็นภรรยา แต่อยู่ด้วยกันหลายปีไม่มีบุตร แม่จึงหาหญิงอื่นมาให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงอิจฉา จึงคิดฆ่าทั้งลูกและเมียน้อยเสีย
ฝ่ายเมียน้อยเมื่อก่อนจะตายก็คิดอาฆาตเมียหลวงไว้ ชาติต่อมาฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นแมว อีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นไก่ แมวจึงกินไก่และไข่ ชาติต่อมาฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นเสือ อีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นกวาง เสือจึงกินกวางและลูก ชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นคนอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิดเป็นยักษิณี
พอฝ่ายคนแต่งงานคลอดลูก นางยักษิณีจองเวร ได้ตามไปกินลูกถึงสองครั้งต่อมามีครรภ์ที่สาม นางได้หนีไปอยู่กับพ่อแม่ของตนพร้อมกับสามี เมื่อคลอดลูกเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงพร้อมด้วยสามีและลูกกลับบ้าน พอดีนางยักษิณีมาพบเข้า นางยักษิณีจึงไล่นาง สามีและลูก นางจึงพาลูกหนีพร้อมกับสามีเข้าไปยังเชตวันมหาวิหาร ซึ่งพอดีพระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่
นางและสามีจึงนำลูกน้อยไปถวายขอชีวิตไว้ นางยักษ์จะตามเข้าไปในเชตวันมหาวิหารไม่ได้ เพราะถูกเทวดากางกั้นไว้ พระพุทธเจ้าจึงโปรดให้พระอานนท์ไปเรียกนางยักษ์เข้ามาฟังพระธรรมเทศนา พระองค์ทรงสั่งสอนไม่ให้พยาบาทจองเวรกัน แล้วจึงโปรดให้นางยักษ์ไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา
นางยักษ์ตนนี้มีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดีปีไหนฝนจะตกดีปีไหนฝนจะตกไม่ดี จะแจ้งให้ชาวเมืองได้ทราบ ชาวเมืองให้ความนับถือมาก จึงได้นำอาหารไปส่งนางยักษ์อย่างบริบูรณ์สม่ำเสมอ นางยักษ์จึงได้นำเอาอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัต แด่พระภิกษุสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ
ชาวอิสานจึงถือเอาการถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสากนี้เป็นประเพณีสืบต่อกันมา และเมื่อถึงวันทำบุญข้าวสาก นอกจากนำข้าวสากไปถวายพระภิกษุ และวางไว้บริเวณวัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ชาวนาจะเอาอาหารไปเลี้ยงนางยักษ์ หรือผีเสื้อนาในบริเวณนาของตนเปลี่ยนเรียกนางยักษ์ว่า " ตาแฮก "
เท่าที่จำได้ พิธีทำบุญข้าวสาก ชาวบ้านอีสานจะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ ใส่ภาชนะหรือห่อด้วยใบตองหรือใส่ชะลอมไว้แต่เช้ามืด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่งก่อน พอตอนสายจวนเพลจึงนำอาหารซึ่งเตรียมไว้แล้วไปวัดอีกครั้ง เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลาก และกล่าวคำถวายดังนี้
..คำถวายสลาก
ภัตอิมานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภักขุสังโฆ อิมานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัง ญาตะกานัณจะกาละ กะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงให้โอกาสรับซึ่งสลากภัต กับทั้งบริขารเหล่านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย และญาติทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ซึ่งล่วงลับไปแล้วตลอดกาลนานาเทอญ
Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•00:14
ปัจจุบันสื่อมีความหลากหลายและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น นอกจากช่องทางแบบเก่าคือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมห์แล้ว มีช่องทางใหม่ๆผ่านสื่อดิจิตอล ได้แก่ เว็บ บล็อก โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (ipod) ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายจึงทะลักสู่ผู้รับเป็นจำนวนมหาศาลตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ส่งข่าวสารจึงกลายเป็นผู้กำหนดการรับรู้ข่าวสารของผู้รับไปโดยปริยายตามทฤษฎีของนักคิดด้านสังคมคนสำคัญคือ มิเชล ฟูโกต์(Michel Foucault) เสนอว่า สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของเจ้าของสื่อหรือผู้ที่สามารถควบคุมสื่อไว้ในมือ อธิบายได้ว่า การใช้สื่อเผยแพร่แนวคิด อุดมคติ ความเชื่อ ให้แก่คนทั้งหลาย ตอกย้ำซ้ำเติมอยู่ตลอดเวลา จนผู้ที่รับข่าวสารเกิดความคล้อยตาม เชื่อ และทำตามผู้ที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมสื่อต้องการในที่สุดจะเห็นได้ชัดเจนในทางการเมืองที่รัฐจะใช้สื่อในการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองขึ้น ให้คนในชาติเกิดความ มีความคิดความเชื่อเป็นหนึ่งเดียว คล้อยตามการชี้นำของรัฐ นำไปสู่การจงรักภักดีต่อรัฐ จนในที่สุดรัฐหรือรัฐบาลสามารถบงการประชาชนให้เชื่อฟังและทำตามความต้องการได้ การอยู่ในอำนาจของรัฐบาลและรักษาอำนาจของตนก็ทำได้โดยง่ายดายปัจจุบัน สื่อก็เป็นเครื่องมือ ในการสร้างอำนาจให้แก่ผู้ใช้สื่ออยู่เช่นเดิม เพียงแต่อำนาจที่ว่านั้น ไม่ใช่อำนาจทางการเมืองเสมอไป เพราะการเป็นเจ้าของสื่อไม่ได้จำกัดอยู่ที่รัฐเพียงเท่านั้น เอกชนก็สามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ ดังนั้น ผู้ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของตน จึงเปิดกว้างมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายต่างๆเมื่อการเป็นเจ้าของสื่อเปิดกว้างขึ้น การใช้สื่อก็กว้างขวางขึ้น ผู้ที่มีสื่อในมือก็สามารถใช้สื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้อย่างแทบไม่มีข้อจำกัด เช่นในทางการเมือง รัฐก็ยังคงใช้สื่อภายใต้การกำกับหรือสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ ในการเผยแพร่ความ คิดอุดมการณ์ทางการเมืองอยู่เช่นเดิม ดังเช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ จึงทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ของรัฐเป็นหลักในการต่อสู้ทางการเมือง สื่อยิ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของแต่ละฝ่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ฝ่ายตนและทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงกันข้าม ดังเช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี พ.ศ.2547-2549 โดยสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่รวมตัวกันในนาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการกระทำอันมิชอบของรัฐบาล และดำเนินการชุมนุมต่อต้านขับไล่รัฐบาลให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากเข้าร่วม ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สื่อที่ตนครอบครองอยู่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ในมุมของตนออกสู่สาธารณชนในทางการค้า ปัจจุบันสื่อกลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งให้เจ้าของสินค้าใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ให้คนทั่วไปได้รับรู้ในสินค้าและบริการของตน รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือและความนิยมในสินค้า ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รูปแบบการนำเสนอได้ถูกคิดค้นขึ้นมานานาชนิด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความประทับใจให้ได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมายด้วยเหตุที่สื่อเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ทำให้ผู้คนรับรู้ เชื่อถือ คล้อยตาม และนำไปสู่การยอมรับ ดังนั้นเราจึงเห็นการขับเคี่ยวแข่งขันกันผ่านสื่อของเจ้าของสินค้าและบริการ รวมถึงในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น คู่ขัดแย้งก็ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความถูกต้องให้แก่ฝ่ายตนและทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม คำถามก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใดความชอบธรรม ความถูกต้อง ของฝ่ายตนกล่าวอ้างผ่านสื่อนั้น แท้จริงแล้วเป็นความถูกต้องความชอบธรรมที่แท้จริงหรือไม่ และความผิด ความไม่ชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม เป็นความจริงหรือไม่ นี่ย่อมเป็นคำถามที่มีต่อทุกฝ่ายที่ใช้สื่อ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลหรือคุณภาพของสินค้าและบริการที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะการโฆษณาที่มุ่งเสนอคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเพียงใด เป็นความจริงที่แท้จริงของสินค้า หรือเป็นความจริงสมมติที่ถูกสร้างขึ้นเฉพาะในโฆษณาเท่านั้นสื่อจึงเป็นเหมือนสนามรบให้ทั้งสองฝ่ายทำสงครามกันอย่างดุเดือด สงครามข้อมูลผ่านสื่อนั้น ไม่ว่าเป็นสงครามแบบไหน ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้รับสื่อ คือเราๆท่านๆที่บริโภคข่าวสาร ผ่านช่องทางต่างๆ อันเป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่สงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการเมือง การค้า การตลาด การบริการผู้รับสื่อจึงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ ก่อนที่จะเชื่อ จะเห็นด้วย และคล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือสินค้าตัวใดตัวหนึ่งเพราะกระบวนการตกแต่งข้อมูล บิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น สามารถทำได้ ไม่ว่าจากฝ่ายใดวิธีที่ดีที่สุดก็คือ เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ผู้บริโภคสื่อ คือตัวเรานั้น เป็นเหยื่อ เป็นเหยื่อและเป็นเหยื่อจากนั้นก็คิดวิธีรักษาตัวให้รอดจากการตกเป็นเหยื่อให้ได้เป็นลำดับถัดมาขอให้โชคดีทุกคน.การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอนการตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)- การทดสอบสื่อการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใดการตรวจสอบสื่อการเรียนการสอนการตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือการตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)1. ลักษณะสื่อ1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษานักเทคโนโลยีการศึกษา2. เนื้อหาสาระเนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจนผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คนการตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมามี 2 แบบ คือ1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบพิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อสร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบพิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้องนำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่ายคัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของเสียงดี ฟังง่าย ฯลฯการเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสมวิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอดตัวแทนกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ
Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•00:09
ในปัจจุบัน มีซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการนำเสนอหลากหลายโปรแกรม ซึ่งมีประสิทธิภาพคล้ายคลึงกัน แต่โปรแกรมที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและใช้งานได้ง่าย คือ Microsoft PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมของบริษัทไมโครซอฟท์ จัดอยู่ในกลุ่มของซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์กราฟิก ที่ใช้ในการสร้างสไลด์ และแผ่นโปร่งแสงเพื่อการนำเสนอได้อย่างสวยงาม โดยมีวิธีการใช้ที่ไม่ยุ่งยากนัก จึงทำให้เป็นที่นิยมและใช้กันมากในการเรียนการสอนและการฝึกอบรมก่อนที่ท่านจะมีการนำเสนอหรือบรรยายในเรื่องใดๆ ก็ตามด้วยสไลด์ สิ่งแรกที่ท่านควรคำนึงถึง คือ การออกแบบสื่อเพื่อการนำเสนอ ซึ่งการออกแบบหน้าจอภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แม้เนื้อหาสาระของสารสนเทศที่ท่านนำเสนอจะมีความสำคัญ หรือมีคุณภาพเพียงใด หากการออกแบบสื่อเพื่อการนำเสนอไม่ดีพอ ผู้รับฟังการนำเสนอไม่สามารถรับสารสนเทศที่ท่านนำเสนอได้อย่างชัดเจน ทั้งภาพ และอักษรที่ปรากฏ จะทำให้ประสิทธิภาพของการรับรู้ทางทัศนะไม่ดีเท่าที่ควร และส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการรับรู้สารสนเทศที่ท่านนำเสนอได้ นอกจากนี้ ยังทำให้ความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอลดลง ด้วยสาเหตุจากสื่อที่นำเสนอ ไม่ดึงดูดใจ เช่น ตัวอักษรเล็กเกินไป สีตัวอักษรดูกลมกลืนกับสีพื้นหลังทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองไปคราวใดก็มีแต่ตัวอักษรเต็มหน้าจอไปหมด รู้สึกสารสนเทศอัดแน่น ไม่น่าชวนมอง หรือการกำหนดค่าการเคลื่อนไหวที่กำหนดตัวอักษรวิ่งเข้าแบบวน หรือกำหนดค่าการเคลื่อนไหวที่ช้าเกินไป มีตัวอักษรปรากฏทีละตัวๆ จนผู้รับฟังการนำเสนอต้องช่วยลุ้นว่า เมื่อไรตัวอักษรจะปรากฏจนครบบรรทัดสักที และยังมีอีกหลายกรณี ซึ่งท่านอาจเคยมีประสบการณ์จากสื่อของผู้อื่นมาแล้ว และท่านคงไม่ต้องการให้เกิดสภาพเช่นนี้ อย่างแน่นอนในการนำเสนอของท่าน โดยเฉพาะการนำเสนอสื่อในเชิงวิชาการนั้นต้องการรูปแบบการนำเสนอที่ไม่หวือหวามากนักเช่นดังการนำเสนอในเชิงธุรกิจการค้า และประชาสัมพันธ์
1.ความเรียบง่าย:จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา
2.มีความคงตัว(consistent):เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน
3.ใช้ความสมดุล:การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance) หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว
4.มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น:ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่
5.สร้างความกลมกลืน:ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย
6.แบบอักษร:ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง
7.เนื้อหา และจุดนำข้อความ:ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา
8.เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง:การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้
9.ความคมชัด (resolution)ของภาพ:เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น
10.เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม:เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3


ปัจจุบันได้มีการสร้างต้นแบบ (templates) สำเร็จรูปไว้เพื่อการนำเสนอด้วยโปรแกรม PowerPoint ไว้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งน่าดึงดูดใจ และสวยงาม โดยจัดพื้นหลัง กราฟิก ข้อความ และสีให้สอดคล้องตามลักษณะของแก่นสาระ และแยกประเภทเป็นหมวดหมู่ให้เลือกใช้งานได้โดยสะดวก เช่น ต้นแบบในการนำเสนอเกี่ยวกับวงการธุรกิจด้านต่างๆ วงการแพทย์ วงการฝึกอบรม/การศึกษาฯลฯ ซึ่งท่านควรเลือกใช้โดยคำนึงถึงหลักการออกแบบข้างต้นประกอบด้วย เช่น ใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหาทั้งนี้ การนำหลักการออกแบบหน้าจอภาพดังกล่าวข้างต้น มาใช้เป็นหลักในการออกแบบสไลด์เพื่อการนำเสนอ จะช่วยให้การนำเสนอของท่านมีความน่าสนใจ และบรรลุประสิทธิผลยิ่งขึ้น
Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•21:05
นางสาวธีราวรรณ ภารไสว
รหัส 51010211052
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชา เคมี