Author: ธีราวรรณ ภารไสว
•00:14
ปัจจุบันสื่อมีความหลากหลายและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น นอกจากช่องทางแบบเก่าคือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมห์แล้ว มีช่องทางใหม่ๆผ่านสื่อดิจิตอล ได้แก่ เว็บ บล็อก โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (ipod) ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายจึงทะลักสู่ผู้รับเป็นจำนวนมหาศาลตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ส่งข่าวสารจึงกลายเป็นผู้กำหนดการรับรู้ข่าวสารของผู้รับไปโดยปริยายตามทฤษฎีของนักคิดด้านสังคมคนสำคัญคือ มิเชล ฟูโกต์(Michel Foucault) เสนอว่า สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของเจ้าของสื่อหรือผู้ที่สามารถควบคุมสื่อไว้ในมือ อธิบายได้ว่า การใช้สื่อเผยแพร่แนวคิด อุดมคติ ความเชื่อ ให้แก่คนทั้งหลาย ตอกย้ำซ้ำเติมอยู่ตลอดเวลา จนผู้ที่รับข่าวสารเกิดความคล้อยตาม เชื่อ และทำตามผู้ที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมสื่อต้องการในที่สุดจะเห็นได้ชัดเจนในทางการเมืองที่รัฐจะใช้สื่อในการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองขึ้น ให้คนในชาติเกิดความ มีความคิดความเชื่อเป็นหนึ่งเดียว คล้อยตามการชี้นำของรัฐ นำไปสู่การจงรักภักดีต่อรัฐ จนในที่สุดรัฐหรือรัฐบาลสามารถบงการประชาชนให้เชื่อฟังและทำตามความต้องการได้ การอยู่ในอำนาจของรัฐบาลและรักษาอำนาจของตนก็ทำได้โดยง่ายดายปัจจุบัน สื่อก็เป็นเครื่องมือ ในการสร้างอำนาจให้แก่ผู้ใช้สื่ออยู่เช่นเดิม เพียงแต่อำนาจที่ว่านั้น ไม่ใช่อำนาจทางการเมืองเสมอไป เพราะการเป็นเจ้าของสื่อไม่ได้จำกัดอยู่ที่รัฐเพียงเท่านั้น เอกชนก็สามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ ดังนั้น ผู้ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของตน จึงเปิดกว้างมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายต่างๆเมื่อการเป็นเจ้าของสื่อเปิดกว้างขึ้น การใช้สื่อก็กว้างขวางขึ้น ผู้ที่มีสื่อในมือก็สามารถใช้สื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้อย่างแทบไม่มีข้อจำกัด เช่นในทางการเมือง รัฐก็ยังคงใช้สื่อภายใต้การกำกับหรือสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ ในการเผยแพร่ความ คิดอุดมการณ์ทางการเมืองอยู่เช่นเดิม ดังเช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ จึงทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ของรัฐเป็นหลักในการต่อสู้ทางการเมือง สื่อยิ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของแต่ละฝ่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ฝ่ายตนและทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงกันข้าม ดังเช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี พ.ศ.2547-2549 โดยสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่รวมตัวกันในนาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการกระทำอันมิชอบของรัฐบาล และดำเนินการชุมนุมต่อต้านขับไล่รัฐบาลให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากเข้าร่วม ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สื่อที่ตนครอบครองอยู่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ในมุมของตนออกสู่สาธารณชนในทางการค้า ปัจจุบันสื่อกลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งให้เจ้าของสินค้าใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ให้คนทั่วไปได้รับรู้ในสินค้าและบริการของตน รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือและความนิยมในสินค้า ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รูปแบบการนำเสนอได้ถูกคิดค้นขึ้นมานานาชนิด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความประทับใจให้ได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมายด้วยเหตุที่สื่อเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ทำให้ผู้คนรับรู้ เชื่อถือ คล้อยตาม และนำไปสู่การยอมรับ ดังนั้นเราจึงเห็นการขับเคี่ยวแข่งขันกันผ่านสื่อของเจ้าของสินค้าและบริการ รวมถึงในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น คู่ขัดแย้งก็ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความถูกต้องให้แก่ฝ่ายตนและทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม คำถามก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใดความชอบธรรม ความถูกต้อง ของฝ่ายตนกล่าวอ้างผ่านสื่อนั้น แท้จริงแล้วเป็นความถูกต้องความชอบธรรมที่แท้จริงหรือไม่ และความผิด ความไม่ชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม เป็นความจริงหรือไม่ นี่ย่อมเป็นคำถามที่มีต่อทุกฝ่ายที่ใช้สื่อ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลหรือคุณภาพของสินค้าและบริการที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะการโฆษณาที่มุ่งเสนอคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเพียงใด เป็นความจริงที่แท้จริงของสินค้า หรือเป็นความจริงสมมติที่ถูกสร้างขึ้นเฉพาะในโฆษณาเท่านั้นสื่อจึงเป็นเหมือนสนามรบให้ทั้งสองฝ่ายทำสงครามกันอย่างดุเดือด สงครามข้อมูลผ่านสื่อนั้น ไม่ว่าเป็นสงครามแบบไหน ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้รับสื่อ คือเราๆท่านๆที่บริโภคข่าวสาร ผ่านช่องทางต่างๆ อันเป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่สงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการเมือง การค้า การตลาด การบริการผู้รับสื่อจึงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ ก่อนที่จะเชื่อ จะเห็นด้วย และคล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือสินค้าตัวใดตัวหนึ่งเพราะกระบวนการตกแต่งข้อมูล บิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น สามารถทำได้ ไม่ว่าจากฝ่ายใดวิธีที่ดีที่สุดก็คือ เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ผู้บริโภคสื่อ คือตัวเรานั้น เป็นเหยื่อ เป็นเหยื่อและเป็นเหยื่อจากนั้นก็คิดวิธีรักษาตัวให้รอดจากการตกเป็นเหยื่อให้ได้เป็นลำดับถัดมาขอให้โชคดีทุกคน.การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอนการตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)- การทดสอบสื่อการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใดการตรวจสอบสื่อการเรียนการสอนการตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือการตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)1. ลักษณะสื่อ1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษานักเทคโนโลยีการศึกษา2. เนื้อหาสาระเนื้อหาที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจนผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คนการตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมามี 2 แบบ คือ1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบพิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อสร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อยที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบพิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้องนำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่ายคัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของเสียงดี ฟังง่าย ฯลฯการเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสมวิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอดตัวแทนกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ
This entry was posted on 00:14 and is filed under . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

0 ความคิดเห็น: